วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ในรายงานกำหนดมาตราฐานเบื้องต้นในการขนส่งวัตถุอันตรายทุกระบบการขนส่ง คือ United Nation Recommendation on the Transport of Dangerous Good ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า UN Recommendations สารพิษที่มาจากวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ก็จะเกิดขึ้นในสถานที่ที่กำลังก่อสร้างและจากการทิ้งขยะก่อสร้างในที่ที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายจากสารพิษจากวัสดุก่อสร้างเกลื่อนเมืองทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าและริมถนน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินหรือสร้างความเดือดร้อนรำคาญกับประชาชนและเป็นปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาประเทศไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษและช่วยลดสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลก ด้วยการสกัดกั้นการแพร่กระจายสารพิษจากวัสดุก่อสร้างอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาและการป้องกันผลกระทบจากสารพิษ

ดังนั้นแนวคิดการแก้ปัญหาจากการเกิดสารพิษจากวัสดุก่อสร้าง จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และ จะต้องรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น

1) ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ดำเนินการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมโดยการปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับอย่างเคร่งครัด

2) ผู้ออกแบบ ดำเนินการออกแบบให้ลดการตัดหรือเป็นสาเหตุให้เกิดฝุ่นผงจำนวนมาก เป็นต้น

3) ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ทิ้งขยะจากการก่อสร้างของตนในที่ที่ไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคม ปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อสร้างอย่างปลอดภัยทั้งจากการทำงานและป้องกันผลกระทบต่อประชาชน

4) การบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการก่อสร้างทุกๆฝ่าย

5) เจ้าของโครงการที่ให้ความสำคัญต่อผลกระทบต่างๆที่เกิดจากการก่อสร้าง มีความรู้ถึงอันตรายจากสารพิษในวัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้ในโครงการทุกประเภท และ กำจัดอย่างถูกต้องตามมาตราฐานสากลหรือตามที่กฏหมายกำหนด

6) การเลือกวิธีการก่อสร้างหรือเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ไม่สร้างปัญหาการแพร่กระจายสารพิษจากวัสดุก่อสร้างสู่สาธารณะ

7) ศึกษาและเข้าใจถึงคุณสมบัติของวัสดุและวิธีใช้ที่ถูกต้องตามคู่มือ ปฏิบัติตามที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ทุกขั้นตอนเพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษและกำจัดได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ

8) การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้และทราบข้อมูล รู้จักวิธีการป้องกันสารพิษจากวัสดุก่อสร้างอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณที่มีการก่อสร้าง

9) รัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนการวิจัยการคิดค้นวัสดุทดแทนที่มีคุณภาพและไม่มีสารพิษที่เป็นอันตรายหรือสร้างผลกระทบด้านต่างๆ

10) สร้างกระแสสังคมให้ปฏิเสธการใช้วัสดุที่มีสารพิษและรังเกียจผู้ที่นำวัสดุที่มีสารพิษ เช่น ไม่ซื้อ ไม่ใช้ และแจ้งเบาะแสแหล่งผลิตหรือผู้หลีกเลี่ยงกฎหมายใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของสารพิษ เป็นต้น

สรุป

จากสาเหตุและปัจจัยต่างๆของกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดผลกระทบจากสารพิษและการปล่อยปละละเลยของผู้เกี่ยวข้องปัญหาของสารพิษจากวัสดุก่อสร้าง จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขทันทีจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาปนิกและวิศวกร ดังนั้นการปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับการพัฒนาวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ เนื่องจากการผลิตวัสดุก่อสร้างมีการพัฒนาและคิดค้นวัตถุดิบในการผลิตตลอดเวลาหรือมีการใช้เทคโนโลยี สารเคมี ที่อาจทำให้วัสดุมีสารพิษหรือเมื่อมีการเกิดการเปลี่ยนสภาพที่อาจเกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีผลกระทบทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคตได้ การป้องกันการกำจัดสารพิษสามารถจัดการได้เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากสารพิษหรือได้รับอันตรายจากวัสดุจากการก่อสร้างที่ใช้ก่อสร้างในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีปราศจากสารพิษจากวัสดุก่อสร้างทุกชนิดที่ใช้ในประเทศไทย

กิตติกรรมประกาศ

ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์กูเกิล ที่ให้ผู้เขียนได้ใช้สำหรับเป็นแหล่งเครื่องมือหลักในการสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงนักวิชาการและนักเขียนทั้งหลายที่มิได้เอ่ยนามในบทความนี้ที่ได้สละเวลาในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ

ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณ ผศ.ดร.วรานนท์ คงสง ผศ.ดร.เสรี ตู้ประกาย อ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ที่ให้โอกาสผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง สารพิษจากวัสดุก่อสร้าง จึงทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

เอกสารอ้างอิง

1. มหันตภัยจากวัตถุเคมี ความเสี่ยงและอันตราย. บรรณาธิการ:ภิญโญ พานิชพันธ์ , พิณทิพ รื่นวงษา

2. สถาปัตยกรรมแห่งความพอเพียงของชีวิต ( Sustainable Architecture ). ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชด ชมพูนิช

ประวัติผู้เขียน

นายชฎิล พกุลานนท์

ปริญญาตรีคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันราชมงคล

สารพิษจากวัสดุก่อสร้าง

สารพิษจากวัสดุก่อสร้าง

นายชฎิล พกุลานนท์

นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทนำ

การก่อสร้างของประเทศไทยเป็นสาเหตุให้มีสารพิษแพร่กระจายสู่ประชาชน เนื่องจากมาตราการป้องกันต่างๆไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการสกัดกั้นอย่างได้ผลและความไม่รับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องบางรายที่ปล่อยปละละเลย ทำให้การก่อสร้างสร้างผลกระทบแพร่กระจายสารพิษจากวัสดุก่อสร้างสู่ประชาชน

แนวคิดที่คำนึงถึงเรื่องการใช้และเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง เช่น

1. ที่มาของวัสดุ วัสดุบางชนิดผ่านกระบวนการที่ปนเปื้อนสารเคมีที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ในการผลิตวัสดุการก่อสร้างแต่ละชนิดเพื่อสนองความต้องการของตลาดนั้นจำเป็นต้องใช้สารเคมีที่อาจมีคุณสมบัติที่เป็นพิษ หรือ เมื่อเปลี่ยนสภาพกลายเป็นผงที่ฟุ้งกระจายได้จากการตัด เป็นต้น

2. วัสดุที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ผลิตบางรายที่ผลิตวัสดุก่อสร้างที่มีผลกระทบของสารพิษที่ปนเปื้อนในเนื้อของวัสดุมากเกินกว่ามาตรฐานกำหนด เพราะคำนึงถึงผลกำไรจากการผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและไม่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นต้น

3. วัสดุก่อสร้างเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงยังคงไว้เมื่อมีการทิ้งขยะก่อสร้างเกลื่อนเมืองดังปรากฏให้เห็นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

4. การนำวัสดุที่มีความเป็นพิษและอันตราย ( Toxic & dangerous materials ) จะปรากฏในงานตกแต่งภายในของอาคาร เช่น สีหรือการเคลือบผิววัสดุ เป็นต้น

5. การออกแบบที่ลดการเหลือเศษวัสดุหรือลดการตัดวัสดุ ทำให้เกิดฝุ่นผงฟุ้งกระจายเป็นจำนวนมากที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ที่ทำงานและต่อประชาชนที่ต้องหายใจเอาอากาศที่มีสารพิษฟุ้งกระจายอยู่เข้าสู่ร่างกาย

สารพิษอันตราย

อันตรายจากสารพิษอาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพอาชีวะอนามัย เช่น อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เจ็บตา ซึ่งมาจากฝุ่นละอองและมีอันตรายรุนแรงมากเมื่อสูดดมเป็นอันตรายต่อปอด การบาดเจ็บต่อผิวหนังที่เกิดจากสารพิษที่มีพิษในการกัดกร่อน เช่น asbestos บางชนิดทำให้เกิดเป็นมะเร็ง ฝุ่นผงของปูนซีเมนต์ ใยหิน แป้งต่างๆบางชนิดทำให้เกิดอันตรายต่อช่องปอด สารพิษจากวัสดุก่อสร้างถือได้ว่าเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 6 เป็นสารพิษและเป็นสารแพร่เชื้อโรคได้ และ ก็เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน และ อาจจะเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด เนื่องจากวัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้นั้นมีความหลากหลายและชนิดที่แตกต่างกันเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง ตามที่ระบุไว้

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำการขออนุญาตการก่อสร้าง

การขออนุญาตการก่อสร้าง
นายชฎิล พกุลานนท์
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฏหมายวิศวกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บทนำ
เมื่อต้องการที่จะก่อสร้าง เช่น อาคาร สะพาน หรือก่อสร้างอื่นๆ เพื่อใช้สอยหรือใช้ประโยชน์ใดๆ ก่อนอื่นจะต้องได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้ก่อนลงมือก่อสร้าง ด้วยเหตุผลที่ว่าการก่อสร้างนั้นนำมาซึ่งประโยชน์มากมายต่อผู้เป็นเจ้าของ แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคมโดยรวมได้ การขออนุญาตการก่อสร้างเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฏหมายระบุไว้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ความเป็นธรรมของทุกฝ่ายและความเป็นระเบียบเรียบร้อยนำสู่การพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัยสังคมโลกยอมรับในการก่อสร้างที่ได้มาตราฐานและมีความปลอดภัยเพียงพอ ปัญหาที่เกิดจากการหลีกเลี่ยงกฏหมายหรือไม่ปฏิบัติตามกฏหมายกำหนด ได้สร้างปัญหาหลายๆด้านต่อสังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และการละเมิดด้านต่างๆ เป็นต้นเหตุความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์เกิดคดีฟ้องร้องกันจำนวนมาก และสร้างปัญหาด้านผลกระทบด้านต่างๆต่อ สิ่งแวดล้อมโดยรวม ต่อบุคคลอื่น และอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และเกี่ยวข้องกับการผังเมือง การพัฒนาประเทศที่ถูกทิศทาง บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น จากที่ราคาของที่ดินในประเทศมีราคาสูงขึ้นมากเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของโครงการจึงต้องหาวิธีให้สามารถใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดินให้ได้ประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้คุ้มกับราคาที่ดิน ยิ่งถ้าที่ดินอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสม มีการคมนาคมสะดวกสบายสามารถเชื่อมโยงการเดินทางได้หลายทิศทาง มีความได้เปรียบในการลงทุนการตัดสินใจทำโครงการย่อมประสบความสำเร็จแน่นอน การตัดสินใจทำโครงการจึงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากความต้องการก่อสร้างเพื่อลงทุนทำธุรกิจด้านการก่อสร้าง ด้านการพัฒนาที่ดินในประเทศจึงได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างเพื่อสนองความต้องการของสังคมที่มีความต้องการโครงการต่างๆมีเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้เกิดความหนาแน่นของเมืองขึ้นเนื่องจากมีความต้องการของประชาชน ตำแหน่งที่ตั้งที่ตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน และการพัฒนาของธุรกิจพัฒนาที่ดินจึงมีโครงการมีความต้องการการก่อสร้างจำนวนมาก การก่อสร้างเป็นการพัฒนาประเทศแต่จะต้องมีการควบคุมดูแลให้การก่อสร้างปฏิบัติถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดไว้ เพื่อความสงบสุขของประชาชนโดยรวมและเป็นการแสดงให้เห็นคุณภาพและประสิทธิภาพการก่อสร้างของประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่นจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นการส่งเสริมให้เศษฐกิจของประเทศดีขึ้นและมีความยั่งยืนตลอดไป
การขออนุญาตการก่อสร้าง
กฏหมายที่ใช้ก็คือ กฏหมายควบคุมอาคาร ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ในกฏหมายได้กำหนดให้ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะยื่นเรื่องขออนุญาตการก่อสร้างต้องปฏิบัติไว้ตามกฏระเบียบของทางราชการ ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างๆระบุไว้ในคู่มือของทางราชการเรื่องการขออนุญาตการก่อสร้าง ประชาชนจะต้องจัดเตรียมหลักฐานสำคัญอะไรบ้างและต้องครบถ้วนยื่นพร้อมแบบ แบบก่อสร้างจะต้องได้รับการรับรองโดยผู้ออกแบบที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยหลักแล้วก็ต้องมี สถาปนิก วิศวกรโยธา และวิศวกรด้านอื่นที่รับผิดชอบโครงการ อย่างครบถ้วน ความสำคัญของแบบนั้นถือเป็นหัวใจของการยื่นขออนูญาตการก่อสร้าง คือเมื่อเจ้าของโครงการตกผลึกความคิดที่ได้ตัดสินใจทำโครงการแล้ว ว่าได้ศึกษาอย่างรอบคอบมั่นใจว่าโครงการต้องประสบความสำเร็จแน่นอน คุ้มค่าการลงทุนสามารถมีผลกำไรเป็นที่พอใจ การปรึกษาหารือเรื่องการออกแบบร่วมกับสถาปนิกเพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของเจ้าของโครงการแล้ว ยังจะต้องศึกษาในรายละเอียดของกฏหมายให้ชัดเจนว่า ในกฏหมายควบคุมอาคารที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดรายละเอียดไว้ว่าอย่างไร สถาปนิกที่มีความรู้ด้านกฏหมายอาคารย่อมทราบดีว่าควรจะต้องออกแบบอย่างไรและเขียนแบบให้ถูกต้องไม่ขัดแย้งกับกฏหมาย และเมื่อใช้แบบในการดำเนินการก่อสร้างแล้วจะไม่ส่งผลต่อการก่อสร้างผิดแบบ หรือไม่ตรงกับแบบที่ได้รับอนุญาตซึ่งจะสร้างความเสียหายในภายหลังที่จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เสียเวลาและงบประมาณที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เพียงแต่มีความตระหนักถึงการออกแบบที่สามารถผสมผสานความต้องการของเจ้าของโครงการ กฏหมายควบคุมอาคาร และการเคารพกฏหมายไม่พยายามหลีกเลียงกฏหมาย ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องกระทำผิดกฏหมายควบคุมอาคารแต่อย่างใด
แนะนำการขออนุญาตการก่อสร้างต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กฏหมายควบคุมอาคาร มีเนื้อหาปริมาณรายละเอียดจำนวนมาก ถ้าสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการยื่นขออนุญาตการออกแบบและเขียนแบบก็จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด อันดับแรกต้องทราบว่าตำแหน่งที่ตั้งของโครงการอยู่ในพื้นที่การปกครองใด เช่น แขวง อำเภอ จังหวัด เป็นต้น โครงการที่ยื่นขออนุญาตเป็นประเภทอะไรเข้าข่ายกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีกฏหมายอะไรบ้าง การศึกษากฏหมายทุกๆฉบับที่เกี่ยวข้องช่วยให้สถาปนิกออกแบบและเขียนแบบได้ถูกต้องไม่ขัดแย้งกับกฏหมาย ก็จะสามารถยื่นขออนุญาตการก่อสร้างโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขแบบ การพิจารณาการขออนุญาตของหน่วยงานราชการก็สามารถพิจารณาได้อย่างรวดเร็วและสามารถออกใบอนุญาตการก่อสร้างได้ โครงการก็สามารถลงมือก่อสร้างได้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทุกๆฝ่าย การยื่นขออนุญาตการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพนั้น การออกแบบ การเขียนแบบ การแนบเอกสารสำคัญครบถ้วน เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้การยื่นขออนุญาตการก่อสร้างประสบความสำเร็จและรวดเร็วตรงตามกำหนดเวลาที่ทางราชการกำหนดไว้ทุกประการ ปัญหาความยากง่ายในการยื่นขออนุญาตการก่อสร้างอีกอย่างก็คือ การพยายามหาวิธีการต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงกฏหมายเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งอาจสร้างปัญหาทั้งต่อโครงการในการเกิดปํญหากระทำผิดกฏหมายควบคุมอาคาร และอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น สังคมโดยรวม ดังนั้นเจ้าของอาคารควรจะต้องมีความตระหนักถึงผลเสียที่เกิดจากการหลีกเลี่ยงกฏหมายควบคุมอาคารและให้ความร่วมมือกับสถาปนิกผู้ออกแบบเพื่อเขียนแบบให้ถูกต้องตรงตามที่กฏหมายกำหนดไว้ทุกประการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคมไทยในยุคที่ต้องการความปรองดอง และความเป็นธรรมในสังคม เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สถานกาณ์วิกฤตของชาติกลับสู่ความปกติสุขอย่างยั่งยืนได้
เมื่อเตรียมความพร้อมด้านเอกสารที่สำคัญทั้งหมดเรียบร้อย เขียนแบบเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนถูกต้องตรงตามที่กฏหมายกำหนดทุกประการแล้ว ให้นำไปยื่นต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ที่ตั้งของโครงการ เช่น ในกรุงเทพมหานครก็ให้ยื่นที่สำนักงานเขตฯและที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา ส่วนนอกนั้นก็เป็นเทศบาลต่างๆตามพื้นที่ที่ตั้งของโครงการ ( อบจ. , อบต. ) การคำนึงถึงการเดินทางความสะดวกในการเดินทางเพื่อติดต่อกับทางราชการต่างๆ ถ้ามีปัญหาในการแก้ไขเอกสารหรือแบบน่าจะสร้างปัญหาต่อเจ้าของโครงการหรือสถาปนิกมาก และเสียเวลาสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การให้ความสำคัญในการดำเนินการเรื่องยื่นขออนุญาตจึงจะต้องให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามกฏหมายเป็นสำคัญและทำงานด้านออกแบบ เขียนแบบให้ถูกต้องตามกฏหมายระบุไว้ให้ครบถ้วน และยังเป็นการทำงานที่ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลังได้ ทั้งในระหว่างการก่อสร้าง จนงานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตลอดไปถึงเมื่อขออนุญาตเปิดใช้อาคาร การขออนุญาตถูกต้อง การก่อสร้างตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต การใช้อาคารตรงตามที่ขออนุญาตไว้ การดูแลรักษาอาคารให้มีสภาพใช้งานที่สมบูรณ์ การป้องกันผลกระทบในทุกๆด้านที่จะมีผลต่อผู้อื่น และส่วนรวม เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของอาคารที่มีต่อชาติบ้านเมืองในการไม่เบียดเบียน เอาเปรียบ และอยู่ภายใต้กฏหมายรักษาความเป็นธรรมในสังคมไว้เป็นที่ประจักษ์
สรุป
กฏหมายควบคุมอาคาร เป็นกฏหมายที่ออกมาบังคับให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากกฏหมายในด้าน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การสร้างความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนาประเทศ เป็นกฏกติกามารยาทของสังคมไทย สร้างความปรองดองในสังคม และช่วยแก้ปัญหาเศษฐกิจของประเทศสร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในประเทศ เป็นต้น
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์กูเกิล ที่ให้ผู้เขียนได้ใช้สำหรับเป็นแหล่งเครื่องมือหลักในการสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงนักวิชาการและนักปฏิบัติทางด้านกฏหมายทุกท่านที่มิได้เอ่ยนามในบทความฉบับนี้ ที่ได้สละเวลาอันมีค่าแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ต่างๆไว้ในเว็บไซต์
ท้ายนี้ผู้เขียนใคร่ขอขอบพระคุณ ท่านคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ( ผศ.ดร. วรานนท์ คงสง ) และ ท่านอาจารย์ ผศ.ดร.เสรีย์ ตู้ประกาย ที่ได้มอบโอกาสให้ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง กฏหมายควบคุมอาคาร จึงทำให้เกิดบทความฉบับนี้ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เอกสารอ้างอิง
( 1 ) สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง, ปี 2551. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ประวัติผู้เขียน
นายชฎิล พกุลานนท์
ปริญญาตรีคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันราชมงคล

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สภาวะโลกร้อน

สภาวะโลกร้อน
Global Warming
นายชฎิล พกุลานนท์
วิศวกรโยธา เลขที่ 110 ซอยรามคำแหง 50 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-0768 E-mail: ddinpa080@gmail.com อะไรคือ โลกร้อน ภาวะโลกร้อน หรือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง กำลังบอกเราว่า ไม่มีสัญญาณว่าโลกจะเย็นขึ้นแต่อย่างใด นี่คือความจริงที่ว่า ทำไมมันถึงเกิดขึ้น อะไรคือสาเหตุ และมีผลกระทบกับโลกนี้อย่างไร ภาวะโลกร้อน กำลังเกิดขึ้น ใช่แน่นอน โลกกำลังแสดงสัญญาณหลายอย่างว่า ภาวะอากาศ กำลังเปลี่ยนแปลงภาวะโลกร้อน โลกร้อน ปัญหาโลกร้อน ภาวะเรือนกระจก สภาวะโลกร้อน ปัญหาภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เรือนกระจก Global Warming การแก้ปัญหาโลกร้อน ธารนํ้าแข็ง An Inconvenient Truth การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน แก้ปัญหาโลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.8 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 และส่วนมากเพิ่มขึ้นในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของสถาบันวิจัยอวกาศกอดดาร์ดส์แห่งนาซา อัตราการเพิ่มของอุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2 ทศวรรษในศตวรรษที่ 20 มีปีที่ร้อนที่สุด ในรอบ 400 ปี และเป็นไปได้ว่าที่สุดในรอบ 1000 ปี จากข้อมูลของ IPCC ระบุว่า ใน 12 ปีที่ผ่านมา มี 11 ปีเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งแต่ปี 1850 อาร์กติกได้รับผลกระทบมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในอลาสกา แคนาดาตะวันตก และรัสเซียตะวันออก เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานของ multinational Arctic Climate Impact Assessment ช่วงปี 2000-2004 นํ้าแข็งในอาร์กติก กำลังละลายอย่างรวดเร็ว และอาจไม่มีนํ้าแข็งอีกเลย ในฤดูร้อน ปี 2040 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็ฯตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกเรามีอุณหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ปัจจุบันการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน นํ้ามันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดขึ้นบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian Andes ที่สูง 7000 ฟุต เหนือระดับนํ้าทะเล นํ้าแข็งในธารนํ้าแข็งเขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สัตว์ต่างๆอย่างน้อย 279 สปีซี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่ หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่ อัตราผู้เสียชีวิตจากโลกร้อนจะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปีใน 25 ปีต่อจากนี้ ระดับนํ้าทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต คลื่นความร้อนจะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น ภาวะฝนแล้งและไฟไหม้ป่าจะเกิดบ่อยขึ้น มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือนํ้าแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050 สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีซี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เราทุกคนสามารถช่วยโลกนี้ได้ ก่อนที่เหตุก่ารณ์เหล่านี้จะมาถึง การเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของคุณเพียงเล็กน้อย สามารถช่วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกเรามีอุณหภูมิอบอุ่นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ วิกฤติโลกร้อนสามารถทำลายโลกได้มากกว่าครึ่ง ยิ่งกว่าการก่อการร้าย พวกเราควรทำสงครามกับโลกร้อนมากกว่าการทำสงครามกับผู้ก่อการร้าย
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์กูเกิลที่ให้ผู้เขียนได้ใช้สำหรับเป็นแหล่งเครื่องมือหลักในการสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงนักวิชาการและนักเขียนทั้งหลายที่มิได้เอ่ยนามในบทความนี้ ที่ได้สละเวลาในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ
ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณ ผศ.ดร.เสรี ตู้ประกาย ผศ.ดร.วรานนท์ คงสง ที่ให้โอกาสผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง สภาวะโลกร้อน จึงทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เอกสารอ้างอิง
[ 1 ] http://www.banchun.ac.th/webboard/view.php?No=389
[ 2 ] http://www.updiary.com/sub_story.php?&usr=dday&dt=2007-01-31&nav=previous
ประวัติผู้เขียน
นายชฎิล พกุลานนท์
ปริญญาตรีคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยี่ราชมงคล